หลวงพ่อจักษ์ วัดชุ้ง

chak

พระครูสิทธิพิมล (หลวงพ่อจักษ์ จตฺตมโล) เจ้าคณะตำบลพระยาทด เจ้าอาวาสวัดชุ้ง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี

พระเกจิที่มีชื่อเสียงปฏิปทาเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธาของชาวสระบุรีและจังหวัดใกล้เคียง
ท่านมีนามเดิมว่า “ประจักษ์ นิลพิทักษ์” เกิดเมื่อวันที่ 26 ก.ค.2498 ที่ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
บรรพชาเมื่อปี2518 ที่วัดบ้านโดน และอุปสม บท เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2519 ณ วัดชุ้ง โดยมีพระครูวิมลสมณวัต (หลวงพ่อใหญ่) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์บุญเรือง อดีตเจ้าอาวาสวัดชุ้ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระกำปั่น ปุณโณ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
จากนั้นไปจำพรรษาและศึกษาวิทยาคมกับ หลวงปู่ย้อย เกจิดังวัดอัมพวัน ผู้ทรงคุณแห่งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ท่านได้ประสิทธิ์ ประสาทกัมมัฏฐานและเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ จนหมดสิ้น รวมทั้งการทำตะกรุด เช่น ตะกรุดมหาจักรพรรตราธิราช สุดยอดตะกรุดดังของหลวงปู่ย้อย, ตะกรุดโทน, ตะกรุดโสฬสมงคล กระทั่งมีความชำนาญ หลวงปู่ย้อยไว้วางใจ ให้จารตะกรุดแทน
วันที่ 16 ม.ค. 2521 ย้ายมาจำพรรษาที่วัดชุ้ง ต่อมาในปีพ.ศ.2537 ได้ไปศึกษาเล่าเรียนวิทยาคมเพิ่มเติมกับหลวงปู่เฮ็น วัดดอนทอง โดยเฉพาะวิชาทำตะกรุดภุชงค์เบญจฤทธิ์ที่ลือชื่อของหลวงพ่อเฮ็น
หลวงพ่อจักษ์ได้ใช้ความรู้ที่เรียนจาก 2 พระคณาจารย์มาช่วยพระสมุห์บุญเรืองสร้างวัดและสร้างวัตถุมงคลต่างๆ จวบจนหลวงปู่ย้อยและพระสมุห์บุญเรืองมรณภาพ ชาวบ้านจึงพร้อม ใจกันนิมนต์ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดชุ้งสืบแทน
วัตถุมงคลหลวงพ่อจักษ์ยุคต้นคือ พระผงใบลานและเนื้อดินเผายุคต้น ออกในงานฝังลูกนิมิตและฝากกรุสืบอายุพระศาสนา มีหลายพิมพ์ อาทิ พระนางพญา พระปิดตา พระหลวงพ่อโตบางกระทิง, โตหูไห, จันทร์ลอย, งบน้ำอ้อย; พระขุนแผนไข่ผ่า, พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ ฯลฯ
ต่อมาต้นปีพ.ศ.2555 ท่านได้สร้างพระยอดธงรุ่นแรก ออกงานฉลองพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ.2556 ได้สร้างพระบูชาหลวงปู่ใหญ่ พระประธานโบสถ์เก่าวัดชุ้ง ขนาด 9 นิ้ว, 5 นิ้ว และเหรียญดวงหนุนเงิน หล่อแบบโบราณ
จากนั้นปลายปีได้สร้างเหรียญพระปิดตา รุ่น “เลื่อนสมณศักดิ์ 56” ฉลองสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ “พระครูสิทธิพิมล”
ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลพระยาทด และพระอุปัชฌาย์